วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา อ่านไว้เพื่อเตรียมสอบเปลี่่ยนตำแหน่งสู่สายบริหาร

เ ฉ ล ย คำ ถ า ม ที เ ล่ น ที จ ริ ง ชุ ด ที่ ๑ ๗

๑.ผอ. จะเลื่อนขั้นเงินเดือนควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด
ก. งานพิเศษที่ครูรับผิดชอบ
ข. งานในหน้าที่ครู
ค. ผลที่เกิดจากการพัฒนาผู้เรียน
ง.ผลที่เกิดและผลงานดีเด่น
๒.งานแนะแนวที่สำคัญที่สุด คือ ข้อใด
ก. ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง
ข. ให้ผู้เรียนเข้ามหาวิทยาลัยได้
ค. ให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถของตนเอง
ง.ให้ผู้เรียนได้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
๓. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
ก. กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม
ข. กิจกรรมแนะแนว
ค. กิจกรรมวิชาการ
ง. กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี

คำถามทีเล่นทีจริง ชุด ที่ ๑๘

๑.ผอ.ไปดูแลโรงเรียนช่วงกลางคืน ไม่พบผู้อยู่เวร จะทำอย่างไร
ก ให้ครูเวรบันทึกชี้แจง
ข สอบถามจากผู้ตรวจเวร
ค ถามจากนักการฯ
ง อยู่เวรเอง
๒.ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ข้อใดอยู่ลำดับสุดท้าย
ก ส่งต่อ
ข คัดกรอง
ค วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล
ง ส่งออก

ด่วน..ชมรมพัฒนาครูไทย โดย ผอ.ยุทธพงษ์ชัย ฯ ฝากประชาสัมพันธ์ ติวสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา

วันที่ ๔-๕ มิถุนายน ๕๔ ที่โรงแรมต้นคูณ อ.เมือง จ.อุดรธานี

วันที่ ๑๑-๑๒ มิถุนายน ๕๔ ที่โรงแรมเอเชียน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

วันที่ ๑๘-๑๙ มิถุนายน ๕๔ ที่โรงแรมแมนฮัตตั้น อ.เมืองปทุม จ.ปทุมธานี

วันที่ ๒๕-๒๖ มิถุนายน ๕๔ ที่โรงแรมปทุมรัตน์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

วันที่ ๙-๑๐ กรกฎาคม ๕๔ ที่โรงแรมเพชรเกษม อ.เมือง จ.สุรินทร์

ติดต่อสำรองที่นั่ง ๐๘๗ ๙๘๙ ๗๓๘๙ ๐๘๙ ๒๐๔ ๒๙๔๓ และ ๐๘๙ ๐๙๕ ๔๔๐๙

ทีมงานมีวิทยากร ๓ ท่าน บรรยายตามความถนัด เพราะเนื้อหาหลักสูตรหลายด้าน ต่างจากหลายค่ายที่เน้นโชว์เดี่ยว ...

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำถามทีเล่นทีจริงสำหรับสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ชุดที่ ๑๗.

คำถามชุดที่ ๑๗.(ข้อสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ปี ๒๕๕๒)

๑.ผอ. จะเลื่อนขั้นเงินเดือนควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด
ก. งานพิเศษที่ครูรับผิดชอบ
ข. งานในหน้าที่ครู
ค. ผลที่เกิดจากการพัฒนาผู้เรียน
ง.ผลที่เกิดและผลงานดีเด่น
๒.งานแนะแนวที่สำคัญที่สุด คือ ข้อใด
ก. ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง
ข. ให้ผู้เรียนเข้ามหาวิทยาลัยได้
ค. ให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถของตนเอง
ง.ให้ผู้เรียนได้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
๓. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
ก. กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม
ข. กิจกรรมแนะแนว
ค. กิจกรรมวิชาการ
ง. กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี

พื้นฐานและทฤษฎีการบริหารการศึกษา สำหรับสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา(ยาวหน่อยนะครับ)

ทฤษฎีการบริหารการศึกษาและการบริหารการศึกษา
(จากหนังสืออุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดร.วิชัย ตันศิริ)
ได้นำเสนอการบริหารการศึกษาดังนี้ ก่อนจะมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การบริหารบริหารและการจัดการศึกษากระจายไปอยู่หลายหน่วยงานภายหลังการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติได้รวมสามหน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และยุบกรมต่างๆ เหลือกลายเป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะกรรมการอุดมศึกษาและสภาการศึกษาก่อนการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 และ 2545 การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ มีความเป็นเอกเทศของแต่ละกรม ที่ยากต่อการประสานงานระดับกระทรวง เรียกกันจนติดปากว่ามี “ 14 องค์ชาย ” ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาของ“ การรวมศูนย์อำนาจ ” ที่มีกรมมากเกินความพอดี ทำให้ตัดสินสั่งการล่าช้าไม่ทันท่วงทีมีข้อเสีย เช่น ระบบ“ เรดเทป ” และความเฉื่อยชาของการทำงาน ฉะนั้นในการปฏิรูประบบราชการจำเป็นต้องลดขั้นตอนของสายการบังคับบัญชาให้น้อยลง โดยการกระจายอำนาจการดำเนินการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคลไปยังระดับล่าง ได้แก่ จังหวัด (เขตพื้นที่การศึกษา) ตลอดจนสถานศึกษา ปัญหาการดำเนินงานต้องสิ้นสุดที่เขต จากการกระจายอำนาจไปยังเบื้องล่างถึงสถานศึกษาให้สถานศึกษาบริหารตนเองโดยอิงระบบบริหารที่โรงเรียนเป็นฐาน ให้คณะครูเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง กลไกหลัก ร่วมกับผู้บริหารในเชิงวิสัยทัศน์ การปฏิรูปภายในสถานศึกษา และการบริหารสถานศึกษาในแนวคิดใหม่ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จให้เกิดขึ้นทางการศึกษาจะดำเนินไปอย่างราบรื่นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการศึกษาทั้งระดับชาติและระดับสถานศึกษาจะเห็นผู้เขียนชี้ให้เห็นการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 วางยุทธศาสตร์หลักของการบริหารจัดการที่มุ่งการกระจายอำนาจจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง โดยมีเขตพื้นที่การศึกษารองรับระดับจังหวัด และมุ่งหวังให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการตนเองอย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นปัจจุบันมักเรียกกันว่า การบริหารจัดการโดยมีสถานศึกษาเป็นฐาน “ School-based management ” (SBM) (วิชัย ตันศิริ,2549 : 294)ในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมองในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป คำว่า “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึงการจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้

คำจำกัดความ
Peter F. Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon : กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)และคำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2 เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ (Materials)
4. การจัดการ (Management)
กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol จากแนวความคิดนี้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10)
ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
* ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
จากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ สรุป เพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ส่วนประกอบที่เป็นประเด็นหลักของการบริหารมีหลายประการดังนี้
1. เป้าหมาย (Goals)
2. การจัดโครงสร้างขององค์กร (Organization structure)
3. การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
4. วัฒนธรรมขององค์การ (Organizational Culture)
5. ภาวะผู้นำ (Leadership)
องค์ประกอบของระบบการบริหารสถานศึกษา
เป้าหมาย (Goals) เป็นส่วนสำคัญที่สุดขององค์การเพื่อความสำเร็จของงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรโดยมีตัวแปรหรือตัวชี้วัดสองประการ คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ สามารถทำงานนั้นให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยใช้ทรัพยากรแต่น้อย คือ ประหยัดสุด แต่ประโยชน์สูง ซึ่งดูได้จาก ประหยัดทรัพยากร กับประหยัดเวลา
ประสิทธิผล (Effectiveness) คือ สามารถทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการ และก่อให้เกิดความพึงพอใจ การทำงานที่มีประสิทธิผลดูได้จากผลงาน (Output) ที่เกิดขึ้นในเชิงปริมาณและคุณภาพ
วัฒนธรรมขององค์การ (Organizational Culture)
วัฒนธรรมขององค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรม และสัญลักษณ์ ที่มีอยู่ในองค์การ (ศิริพงษ์ เศาภายน, 2548 : 71) ที่มี ปรัชญา อุดมการณ์ ความเชื่อความรู้สึก เจตคติ บรรทัดฐาน และค่านิยม
วัฒนธรรมในความหมายที่กว้าง หมายถึง วิถีชีวิต แต่ในบริบทขององค์การ คือ ปทัสถาน แนวประพฤติปฏิบัติร่วมกันและอยู่ในใจจนฝังรากลึกของสมาชิกร่วมกัน จนมีวิวัฒนาการตามลำลับจนดำรงอยู่ระยะหนึ่งจนเป็นค่านิยมอุดมการณ์ เป็นเอกลักษณ์ ขององค์กรนั้น มีลักษณะเด่นชัดในเรื่องของระบบคุณค่า และกลายเป็น “สถาบัน”เมื่อเป็นสถาบัน ก็จะเกิด สัญลักษณ์ พิธีการ ตำนานเล่าขาน สะท้อนภาพของระบบค่านิยม และอุดมการณ์ หรือวัฒนธรรมที่มีคุณค่าขององค์การต่อไป
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำมีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ ซึ่งมีผู้ให้ความหมายดังนี้
นภาพร โกศลวัฒน์ : ภาวะผู้นำเป็นการใช้ศิลป์และกระบวนการของการมีอิทธิพลต่อบุคคลหรือกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ประทาน คงฤทธิศึกษากร: "ภาวะผู้นำ" คือ การกระทำที่มีอิทธิพล สามารถทำให้ผู้อื่นเกิดศรัทธามีความนับถือ มีความเชื่อมั่น ตกลงปลงใจที่จะทำตามแล้วแต่ผู้นำจะให้ทำอะไร
สก็อตคิล : ภาวะผู้นำ คือ กระบวนการใช้อิทธิพลต่อกลุ่มในองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เทอรี่ :ภาวะ ผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ซึ่งบุคคลหนึ่งหรือผู้นำใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่นให้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มใจ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามที่ผู้นำมุ่งหมาย
ความแตกต่างของ ผู้นำ กับภาวะผู้นำ
ผู้นำ คือ ตัวบุคคล
ภาวะผู้นำ มุ่งเฉพาะพฤติกรรมของผู้นำ ภาวะผู้นำเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือในการบริหารของผู้นำ เป็นสิ่งที่สร้างพัฒนาขึ้นได้ในทุกตัวคน นั่นก็คือการสร้างศรัทธาบารมีให้เกิดขึ้นในตัวเองโดยบทบาทหน้าที่แล้ว ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำในขณะที่ผู้นำอาจจะไม่ใช่ผู้บริหาร เพราะฉะนั้นผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดจะต้องเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำผู้บริหารที่ขาดภาวะผู้นำ จะบริหารงานโดยอาศัยอำนาจตามขอบเขตหน้าที่ที่ระบุตามกฎหมายและขอบเขตเท่านั้นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจที่มีอยู่ แต่จะสร้างศรัทธาบารมีโน้มน้าวจิตใจให้ลูกน้องปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยความเต็มใจและสุดความสามารถสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า นักบริหารที่มีความสุขที่สุด คือ ผู้ที่มีลูกน้องมือเยี่ยมช่วยทำงานให้กับ
ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวมเร็วในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ในการพัฒนาดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต้องมีการพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning Organization) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Education) ในการบริหารสถานศึกษาจะต้องบริหารแบบกระจายอำนาจ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบยุติธรรม และ และการบริหารคุณภาพ ที่มีกระบวนการ 1. การวางแผน (Plan - p) 2. การปฏิบัติตามแผน (Do - D) 3. การตรวจสอบ ( Check - C) การปรับปรุงแก้ไขปัญหา (Act - A) สำหรับการบริหารสถานศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดและหลักการดังนี้ คือ ระบบการบริหารคุณภาพแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) เพื่อปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเน้นที่ภาพรวม อีกแนวคิดสำหรับการบริหาร คือ การจัดการองค์ความรู้ (KM) เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ จากเหตุปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อแนวคิดในการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้กว้าง รู้ลึก ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างองค์กรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LO)การเรียนรู้ที่สำคัญขององค์กร คือ เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาของตนเอง และพัฒนาตนเองขึ้นไปอีกก้าวหนึ่งบนเส้นทางของความเจริญก้าวหน้าตลอดชีวิต ตลอดไป ( วิชัย ตันศิริ , 2549 : 347) ปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) จากสถาบัน เอ็มไอที (MIT) สหรัฐอเมริกา ได้เขียนตำราเรื่อง “ The Fifth Discipline ” ท่านได้สรุปกระบวนการสร้างองค์ความรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ปฐมฐานความคิดของแต่ละบุคล (Mental Model)
2. ฝึกฝนตนเอง (Self - Mastery)
3. คิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
4. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
5. ทำงานเป็นทีม (Teamwork)
อนึ่ง รศ.ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง ได้กล่าวเสริมเรื่องดังกล่าวไว้ได้อย่างน่าคิดผู้เขียนเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงต้องฝึกฝนคน 5 ประการ ดังนี้
1. บุคคลที่รอบรู้ ( Personal Mastery) คือ บุคคลที่ให้ความรู้ ความสำคัญการเรียนรู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. รูปแบบความคิด (Mental Model) คือ เข้าในกรอบแนวคิด คิดให้เป็นระบบ องค์การเรียนรู้จึงจะเกิดขึ้น
3. มีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ สมาชิกทุกคนในองค์การได้รับการพัฒนาวิสัยทัศน์ของตนเองให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ร่วมขององค์กรเพื่อให้เกิดพลัง
4. การเรียนรู้เป็นทีม (Teamwork) คือ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ นำจุดเด่นของแต่ละคนมาพัฒนาองค์การ
5. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) คือ มองภาพรวม เชื่องโยง อย่างมีเหตุผล
องค์การแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning Organization) ต้องพัฒนาสมาชิกขององค์การ จึงจะทำให้องค์การเกิดการเรียนรู้ แสวงหาวิธีการใหม่ ๆ แก้ไขปัญหาไม่ขาดสาย การเรียนรู้ การรู้จักตนเองและองค์การของตน ดังนั้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องปรับการบริหารภายในของตนที่จะเป็นองค์การการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ ทั้งภายในสถาบันของตนเอง และในชุมชนที่มียุทธศาสตร์ที่หลากหลายเหมาะสมการเรียนรู้ของสังคมดังนั้นการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป มิใช่ จำกัดอยู่ที่สถานศึกษาแต่ต้องมองระบบการศึกษาให้รวมถึงการเรียนรู้ในสังคมอย่างตลอดชีวิต หรือ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization (LO) สถานศึกษาต้องปรับการบริหารภายในของตนที่จะเป็นองค์การการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสังคมการเรียนรู้ทั้งภายในสถาบัน และชุมชน ด้วยยุทธศาสตร์ ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีที่หลากหลาย ให้สถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(LO) นำสังคมนั้นๆอยู่รอด ด้วยความเจริญสูงสุดทางอารยธรรมจากการบริหารการศึกษาที่นำหลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษามาปรับใช้อย่างเหมาะสมจนเกิดเป็นองค์การหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LO) ต่อไป
ปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นที่ห้องเรียนในสถานศึกษา
Richard Edmore (2000) "การปฏิรูปการศึกษา เป็นการเน้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน ระหว่างครูกับนักเรียน"การศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม ฯลฯ เป้าหมายการจัดการศึกษา คือ คุณภาพผู้เรียน ในการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงก็คือ พฤติกรรมของครู นักเรียน ผู้บริหาร มุ่งให้เป็นไปในทิศทางตามหลักการและแนวทางสำคัญการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวข้องคือ แนวการจัดการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษา บทบาทครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้ มีการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลง พึงตัวเองได้ คิดเองได้ นำไปสู่การปฏิบัติเองได้ ดังนั้น สถานศึกษาคือคำตอบของการปฏิรูปการศึกษา เมื่อปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ การพัฒนาประเทศก็จะตามมานั้นเอง
โดยสรุป การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นที่ห้องเรียนโดยออกแบบการเรียนรู้ ใช้สื่อ นวัตกรรมที่หลากหลายทั้ง รูปแบบ ประเภท ชนิด จำนวน วิธีการ ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด ส่งเสริมให้พัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ผู้บริหารคือผู้อำนวยความสะดวกให้การศึกษาบรรลุเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป
คุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝัง
คุณธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามควรแก่การประพฤติปฏิบัติ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุขโดย๘ คุณธรรมพื้นฐาน ประกอบด้วย
1. ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
2. ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
3. ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกสำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
4. มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม
5. สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อยไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงามวางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
6. สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
7. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์
8. มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อมนุษย์และผู้ที่มีความเดียดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
แนวคิด
1. เป็นการเปิดโอกาสผู้เรียนได้ฝึกหัด วิเคราะห์และศึกษาด้วยตนเอง
2. ฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียน มีประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเอง
3. การรู้วิธีการ วิธีการดำเนินชีวิต
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการเผชิญกับปัญหาและเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้
แนวปฏิบัติ
1. เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระสารมารถสรุปและสร้างความรู้ใหม่ๆได้จากข้อมูลได้
3. นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ครูคือผู้อำนวยความสะดวก
4. เน้นการปฏิบัติควบคู่กับหลักการและทฤษฎีมีกรอบแนวคิด หลักการ สู่การปฏิบัติ
5. เน้นวิธีสอน การเรียนรู้ ให้หลากหลาย
6. กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าเนื้อหา
7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดมากกว่าการหาคำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียว
8. ใช้กระบวนการกลุ่ม ในการเรียนรู้ ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดการเรียนรู้ให้หลากหลายวิธี ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในสังคม
วิธีสอนที่ดีที่สุด
วิธีสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน โอกาส และสถานการณ์ ในการสอนเรื่องหนึ่ง ครูอาจใช้หลายวิธีเพื่อให้ทั้งครูและนักเรียนไม่เบื่อหน่าย เป็นการเรียนที่สนุกสนานและได้เด็กดีตามที่พึงประสงค์ (ศาสนา สู่ โรงเรียน, ม.ป.ป. : 8) พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรา 22 ความว่า "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ" การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นั้น เห็นได้ว่ามุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนการสอนบทบาทของครูเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาวิชามาเป็นผู้กระตุ้นผู้เรียนให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ เรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนในบางเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ๆ สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนให้แสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปสร้างสรรค์ความรู้ของตนได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม แม้ว่าผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น การจัดการเรียนที่ดีต้องมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ทั้งด้าน ร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และสังคมเป็นสำคัญ แต่ผู้สอนก็มีความสำคัญมีบทบาทมากขึ้น ผู้สอนต้องเป็นคนเก่ง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาที่สอนจึงจะสามารถแนะนำผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง ด้วยกระบวนการที่มากมายหลากหลายวิธี สุดแต่ครูผู้สอนจะพิจารณานำมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา สาระ จุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยคำนึงอยู่เสมอว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ไม่เรียนเพื่อรู้แต่เพียงอย่างเดียว ครูผู้สอนควรศึกษาและหาวิธีการจัดประสบการการณ์ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงตลอดเวลาเพราะการศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
สรุปได้ว่า ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน ให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน ด้วยความหลากหลาย และวิธีการสอนที่ดีที่สุดคือวิธีการสอนที่เหมาะแก่ผู้เรียน
ปัญหาการทำงานในองค์การ
ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นกับองค์การหรือหน่วยงานใด ก็มักจะทำให้องค์การนั้น ไม่สามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเท่าที่ควรจะเป็นสาเหตุของปัญหาการทำงานอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทั้งในระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม เช่น การคิดไม่เหมือนกัน การทำไม่เหมือนกัน และ ผลประโยชน์ไม่เหมือนกัน ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นในระหว่างการทำงานก็พอที่จะระบุปัญหาเป็นประเด็นในเรื่องเกี่ยวกับ คน / วิธีการทำงาน สรุปได้ว่า ปัญหาการทำงานในองค์การมีสาเหตุมาจาก 1. คน เช่น เกิดการแบ่งกลุ่ม มีอคติต่อกัน ขาดความร่วมมือ 2. งาน เช่น งานไม่มีประสิทธิภาพ งานล้าช้ากว่ากำหนด 3. วิธีการทำงาน เช่น ขาดภาวะผู้นำ ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร จากปัญหาดังกล่าวควรจะลดระดับของปัญหาและให้สมาชิกเกิดความร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมมือผลักดันให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายขององค์การต่อไป
ปัญหาเกี่ยวกับคน
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน(วารสารรามคำแหง. 2549. หน้า 171 ) และในบรรดาทรัพยากรการบริหาร คือ คน(Man) เงิน(Money) วัสดุอุปกรณ์(Materials)และการจัดการ(Management) ในการบริหาร “คน” นั้นเป็นสิ่งที่บริหารยากที่สุด เพราะคนมีความรู้สึกนึกคิด มีความต้องการ(บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2542. หน้า 108-109) การสร้างแรงจูงใจ(Motivation) มนุษย์ในองค์การมีความสำคัญมาก มนุษย์มีความแตกต่างที่หลากหลาย เน้นความสัมพันธ์ด้านพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เป็นปัจจัยหลักคือ แรงจูงใจที่จะทำงานให้กับองค์การสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อับราฮัม มาสโลว์ นักจิตวิทยาอเมริกาได้เสนอทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์เริ่มจากชั้นต่ำไปหาชั้นสูงสุด มี 5 ขั้น
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological)
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety)
3. ความต้องการทางสังคม (Social)
4. ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ มีชื่อเสียง (Esteem)
5. ความต้องการบรรลุศักยภาพแห่งตน (Self actualization)
ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น หากขั้นแรกยังไม่บรรลุผล ก็ไม่มีความต้องการในขั้นต่อไป ผู้บริหารโรงเรียนมักนำไปใช้เมื่อต้องการแก้ไขปัญหาแรงจูงใจในโรงเรียน
จากหลักการและทฤษฎีดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคน 1. การแบ่งกลุ่ม 2. คนมีอคติต่อกัน และ3. ขาดความร่วมมือ จาก 3 ปัญหาดังกล่าวผู้บริหารหรือบุคลากรสามารถแก้ปัญหาได้ดังต่อไปนี้
1. สร้างกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความใกล้ชิด เช่น จัดให้มีการสังสรรค์พบปะระหว่างบุคคลและกลุ่มอยู่เป็นประจำ
2. จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้บริการแก่สมาชิก เช่น ร้านค้าสวัสดิการ กองทุนกู้ยืม เป็นต้น
3. ให้บุคลากรในหน่วยงานมีความอบอุ่นใจ มีบรรยากาศแบบมิตรภาพ มีความไว้วางใจ มีความสนิทสนม รักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคีในหมู่คณะ ปราศจากความวาดระแวง
4. ยกย่องชมเชยแก่บุคคลที่ประสบความสำเร็จ ให้และมอบเกียรติบัตร ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานที่หน้าเสาธง ในวารสาร เว็บไซด์ สถานีวิทยุ รวมทั้งมอบหมายงานที่สำคัญให้ทำ
5. สนับสนุนให้เขาไปถึงจุดหมายปลายทางหรือบรรลุศักยภาพแห่งตนมอบความไว้วางใจ เช่น การเลื่อนตำแหน่งครูมีวิทยฐานะสูงขึ้น
จากการดำเนินการที่อาศัยหลักการ ทฤษฎี และวิธีการจัดการดังที่กล่าวมานั้นบุคลากรจะมีความรู้สึกรักองค์การ รักเพื่อนร่วมงาน มีเจตคติที่ดีต่อองค์การ เพราะสามารถบรรลุความต้องการแห่งตนภายใต้การจัดการและสนับสนุนที่ดีและจริงใจจากผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน ปัญหาดังกล่าวก็จะลดระดับ หรือไม่มีในองค์การ เมื่อไม่มีปัญหาเกี่ยวกับคนในองค์การทุกคนจะร่วมมือกันในการผลักดันภาระกิจขององค์การให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
สรุปได้ว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ ขององค์การเพราะคนเป็นผู้สร้างงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับคนจากความแตกต่างของคน ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานควรมีการสร้าง แรงจูงใจ(Motivation) ตามแนวทางทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ หรือ ทฤษฎี ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) มี 5 ลำดับ เพื่อให้คนเกิดความพอใจความรักในองค์การ เมื่อคนเกิดพอใจ ความรักในองค์การ คนก็จะทำงานให้กับองค์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความรักใคร่ความสามัคคี เกิดความร่วมใจ ร่วมมือไปสู่พลังร่วมกัน จนสามารถผลักดันภารกิจขององค์การให้ไปสู่เป้าหมายในที่สุด
ปัญหาเกี่ยวกับงาน
การจัดการองค์การ เป็นการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง คน งาน วิธีการ โดยอาศัยทรัพยากรทางการศึกษา มีการกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ถ้าหากงานดังกล่าวขาดการจัดการองค์การที่ดีพอปัญหาของงานจึงเกิดขึ้น คือ งานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีประสิทธิผล เกิดความล้าช้า ดังนั้นจึงควรจัดระบบการบริหารจัดการในองค์การเพื่อให้เกิดและได้งานตามวัตถุประสงค์ตามแนวคิด หลักการ ทฤษฎีดังต่อไปนี้ คือ
1. ทฤษฎีหมุดเชื่อมโยงของเรนซิส ไลเคิร์ต (Linking Pin Function Theory) มีแนวคิดคือประสิทธิภาพของการทำงาน การทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงานกัน
2. ทฤษฎีองค์การของ Chester I Barnard ได้เสนอแนวคิดทางการบริหาร
- ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน
- เป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของคนต้องสมดุลกัน
- ให้ความสำคัญกับกลุ่มไม่เป็นทางการ(Informal Group) ที่เกิดขึ้นในองค์การ
จากทฤษฎีทั้ง 2 ที่ระบุมานั้น เน้นเรื่องการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม เกิดจากความพอใจ ความร่วมมือ การประสานงานที่ดี และนำมาซึ่งความสำเร็จในงานตามภารกิจที่ตั้งไว้โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาเกี่ยวงานในสถานศึกษาได้ดังนี้
1. ให้สร้างกลุ่มปฏิบัติงานเอง
2. ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน การแก้ปัญหา และตัดสินใจ
3. ผู้บริหารต้องเป็นผู้เชื่อมประสานที่ดีกับทุกๆคน ทุกๆ กลุ่ม และทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. มีความศรัทธาในสิ่งที่ทำ
5. มีความศรัทธาในเพื่อนร่วมงานถือคติในการบริหารที่ว่า รวมกลุ่มปรึกษาแก้ปัญหาได้ , 10 คน โง่ เท่ากับ 1 ขงเบ้ง , มีเงินไม่เท่ามีพวก
6. จัดให้มีการพบปะ ประชุมอย่างไม่เป็นทางการให้มาก
จากการดำเนินงานตามหลักการและทฤษฎีดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ปัญหาดังกล่าวก็จะลดลง สถานศึกษาหรือองค์การ มีความน่าดู น่าอยู่ น่าเรียน บรรลุภารกิจขององค์การในที่สุด
สรุปได้ว่า งานสำเร็จลงได้ ก็ด้วยคนทำงาน หากงานนั้นเกิดจากการการประสานความร่วมมือที่เป็นทีม เป็นกลุ่ม มีการประสานงานที่ดีจากผู้บริหาร ตามแนวทาง ทฤษฎีหมุดเชื่อมโยงของเรนซิส ไลเคิร์ต และทฤษฎีองค์การของ Chester I Barnard งานในองค์การนั้นจะมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล บรรลุภารกิจ เป้าหมายขององค์การอย่างแน่นอน
ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการทำงาน
ดังที่กล่าวมาแล้วในส่วนของ คน งาน และงานจะสำเร็จหรือไม่ อย่างไร ซึ่งวิธีการทำงานคือหนทางไปสู่การบรรลุเป้าหมาย หากมีวิธีการทำงานที่ดีและเหมาะสมองค์การก็เติบโตอย่างรวดเร็วแต่ถ้าหากวิธีการทำงานไม่เหมาะสมกับงานองค์การก็ก่อผลกระทบยิ่งถ้าหากองค์การใดที่ ผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดความเข้าใจในศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร จากปัญหาดังกล่าวจะทำให้งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องบริหารคน บริหารงาน โดยเฉพาะการบริหารวิธีการทำงานก็คือศาสตร์และศิลป์ในการบริหารทั้งจากหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์การให้ถูกวิธี
ในการบริหารองค์การจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานมีความรู้เรื่องต่อไปนี้
1. ภาวะผู้นำ คือ นำคน นำการเปลี่ยนแปลง นำการแก้ปัญหา
2. หลักการและทฤษฎีในการบริหารการศึกษา คือ บริหารคน บริหารงาน และบริหารวิธีการ
3. หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารความขัดแย้ง การจูงใจคน
4. วิธีการทำงานตามหลักของ Q.C. หรือ วงจรคุณภาพ
ขอยกตัวอย่าง วิธีการทำตามวงจรคุณภาพ หรือ วงจรเดมิ่ง มี 4 ขั้นตอน (บูรชัย ศิริมหาสาคร, : 147-149)
1. การวางแผน (Planning) คือ การวางแผนเพื่อทำงานนั้นให้สำเร็จ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนรับรู้ในปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน ดังนั้น ทุกคนจะมีความพอใจในสิ่งที่จะทำ ตระหนักถึงความจำเป็น หรือคุณค่าของสิ่งที่จะทำ
2. การทำตามแผน (Doing) คือการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ โดยมีความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้น ให้สำเร็จ
3. การตรวจสอบผลงาน (Checking)คือการตรวจสอบผลงานว่า มีคุณภาพเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ โดยเอาใจใส่ไม่ทอดทิ้งกลางคัน
4. การปรับปรุงงาน (Acting) คือ การปรับปรุงคุณภาพของผลงานให้เป็นไปตามแผน เมื่อพบว่ามีข้อบกพร่องต้องแก้ไขให้ดีขึ้น โดย การใคร่ครวญ หมั่นตรวจสอบ ปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ด่วน..TOPTEN TUTOR ร่วมกับชมรมพัฒนาครูไทย จัดติวสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา

TOPTEN TUTOR ร่วมกับชมรมพัฒนาครูไทย จัดติวสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ตามตาราง โทร.สำรองที่นั่งหรือรายละเอียด ที่ 087 989 7389 , 089 204 2943 ,089 0954409 หรือ 088 3583689

....................................
เ ฉ ล ย คำถามทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๑๖
๑.การเขียนวิสัยทัศน์ ควรมีลักษณะอย่างไร
ก มองไกล ไปให้ถึง ปฏิบัติได้
ข สั้น ง่าย ให้พลัง
ค คม ชัด ลึก
ง ชัดเจน เป็นรูปธรรม
๒.วิสัยทัศน์มีความหมายตรงกับข้อใด
ก ระเบียบกฏหมายเปลี่ยน
ข ทัศนคติผู้บริหารเปลี่ยน
ค ทัศนคติผู้ปฏิบัติงานเปลี่ยน
ง วิธีปฏิบัติงานที่ต้องเปลี่ยน
๓.วิสัยทัศน์มีความหมายตรงกับข้อใด
ก มองการณ์ไกล
ข สิ่งที่จะทำในอนาคต
ค สิ่งที่จะต้องทำอย่างไรในอนาคต
ง สิ่งที่อยากเป็นในอนาคต