วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมรรถนะหลัก การพัฒนาตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษา

เ ฉ ล ย คำถามเตรียมสอบภาค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๑๐
๑.ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องการครูคนใดไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครูประชาสัมพันธ์โรงเรียน(ภาค ก ปี ๒๕๕๐ )
ก มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้ภาระงานในโรงเรียน
ข สุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส
ค เป็นคนพูดจาอ่อนหวาน กระตือรือร้น
ง แต่งตัวดี มีบุคลิกภาพที่ดี
๒.ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจะมอบหมายให้ครูตามข้อใดเป็นประชาสัมพันธ์โรงเรียน(ภาค ก ปี ๒๕๕๒)
ก แต่งตัวสะอาด เรียบร้อย พูดเก่ง
ข พูดดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
ค มีบุคลิกภาพที่ดี พูดคล่อง รู้ภาระงานในโรงเรียนดี
ง กระตือรือร้น ชอบพูดคุย รู้หน้าที่และรับผิดชอบ

.......................................................................................
การพัฒนาตนเอง: การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
มี ๓ ตัวบ่งชี้
1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยการเข้าประชุมสัมมนาหรือวิธีการอื่น ๆ
ระดับคุณภาพ
4--มีชั่วโมงเข้าประชุม อบรม สัมมนาไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี และมีการจัดทำเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 2 รายการ/ปี
3--มีชั่วโมงเข้าประชุม อบรม สัมมนาไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี และมีการจัดทำเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 1 รายการ/ปี
2--มีชั่วโมงเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี และมีการจัดทำเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 2 รายการ/ปี
1--มีชั่วโมงเข้าอบรมน้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี และมีการจัดทำเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 1 รายการ/ปี
2 การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
ระดับคุณภาพ
4--มีการสังเคราะห์ข้อมูลความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ปรับปรุงให้ทันสมัยรวบรวมองค์ความรู้สำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
3--มีการรวบรวม ประมวลความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อใช้ในการพัฒนางาน
2--มีการรวบรวมประมวลความรู้จัดเป็นหมวดหมู่เพื่อใช้ในการพัฒนางาน
1--มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนางานแต่ไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่
3 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน
ระดับคุณภาพ
4--เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงานร้อยละ 80 ขึ้นไป ของจำนวนกิจกรรมที่หน่วยงานจัด
3--เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงานร้อยละ 70-79 ขึ้นไป ของจำนวนกิจกรรมที่หน่วยงานจัด
2--เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงานร้อยละ 60-69 ขึ้นไป ของจำนวนกิจกรรมที่หน่วยงานจัด
1--เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงานน้อย

คำถามทีเล่นทีจริงชุดที่ ๑๑
ผอ.โรงเรียนใช้เงินส่วนตัวเดินทางไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ แล้วนำความรู้มาพัฒนาโรงเรียนตนเองจนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น ผอ.คนนี้มีสมรรถนะด้านใด
ก การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ข การพัฒนาตนเอง
ค การมีวิสัยทัศน์
ง การบริการที่ดี

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชมรมพัฒนาครูไทยติวสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ๑๘-๑๙ ธันวาคมนี้ที่ร้อยเอ็ด

ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ก
โดยทีมงาน ชมรมพัฒนาครูไทย

18-19 ธันวาคม 2553
สถานที่ ห้องทับทิม โรงแรมสาเกตุนคร อ.เมือง จ. ร้อยเอ็ด


ดูรายละเอียด สอบครูดอทเน็ต

2 วัน 08.30-16.30 น.
วิทยากร 1.ผอ.ยุทธพงษ์ชัย
2.ผอ.สันต์วัช (Invisible wave)
3.ผอ.ชัยทัศน์ (ty)
4.วิทยากรพิเศษ


สำรองที่นั่ง โทร 087-9897389 โทร 089-2042943

เนื้อหา สมรรถนะการบริหาร การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานแผนงานและงบประมาณ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล งานนโยบายและความรอบรู้การศึกษา ฯลฯ
ติวจากประสบกาณ์รสอบจริง และติวสอบจากวิทยากรที่ได้รับการคัดสรรอย่างมีคุณภาพจากชมรม
อยากให้ท่านมาร่วมประสบความสำเร็จกับเรา เหมือนที่เราเคยทำ
..............................................................................

เวบไซต์หรือท่านใดต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการติวหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร กรุณาโพสต์ข้อมูลของท่านที่กระดานรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหาร และทีมงาน TOPTEN TUTOR ยินดีประชาสัมพันธ์ให้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมรรถนะการบริการที่ดี สมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษาตามเกณฑ์ ก.ค.ศ.

เ ฉ ล ย คำถามสอบภาค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๙
๑.ผอ.โรงเรียน มีการจัดทำผลงาน ซึ่ง มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนางานใหม่ ๆ โดยมีการบันทึกหรือกล่าวถึงในเอกสาร/หลักฐานลักษณะในลักษณะหนึ่ง ไม่มีการเผยแพร่ในวงกว้าง.. ผอ.ท่านนี้ได้ระดับคุณภาพอยู่ในระดับใดในตัวบ่งชี้นี้(ข้อสอบภาค ก ปี ๒๕๕๒)
ก ระดับ ๑
ข ระดับ ๒
ค ระดับ ๓
ง ระดับ ๔
๒.ผอ.โรงเรียนกล่าวว่า...คุณครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจมาก... ข้อใดถูกต้องมากที่สุด(ข้อสอบผอ.เขต )
ก มีประสิทธิภาพ
ข มีประสิทธิผล
ค มีผลลัพธ์
ง มีผลสัมฤทธิ์

............................................................................
การบริการที่ดี: ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
มี ๒ ตัวบ่งชี้
1 การปรับปรุงระบบบริการ
ระดับคุณภาพ
4--ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการในเกือบทุกรายการอย่างต่อเนื่อง
3--ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการเป็นส่วนใหญ่
2--ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการเป็นบางครั้ง
1--ปรับปรุงระบบบริการเมื่อมีคำถามหรือข้อเรียกร้อง
2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง
ระดับคุณภาพ
4--ผู้รับบริการร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความพึงพอใจระดับมาก
3--ผู้รับบริการร้อยละ 70-79 มีความพึงพอใจระดับมาก
2--ผู้รับบริการร้อยละ 60-69 มีความพึงพอใจระดับมาก
1--ผู้รับบริการน้อยกว่าร้อยละ 60 มีความพึงพอใจระดับมาก
แนวคิดเรื่องการบริการที่ดี
ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของผู้ให้บริการ (มีความพร้อม เต็มใจ อยากที่จะบริการ)มุ่งสู่ จิตมุ่งบริการ (Customer Service Orientation)
มาตรฐานของบุคลิกภาพในการต้อนรับ : มองหน้า สบตา ยิ้ม และทักทาย
ขั้นตอนสำคัญในการปรับปรุงคุรภาพของการบริการ
Envision : มีวิสัยทัศน์ และทัศนคติที่ดีต่องานบริการ
Activation : ทดลองปฏิบัติ
Support : สนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ
Implementatiton : ลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
Ensure : ตวบตุม กำกับ ติดตาม
Recognition : ยกย่องชมเชย ให้รางวัล
การบริการประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ 2 ส่วน คือ กิจกรรมบริการ กับพฤติกรรมบริการ
มิติที่ประชาชนคาดหวัง : ความเสมอภาค ความรวดเร็ว คงามเป็นธรรม (ISO 9000)
หน่วยงานของรัฐ ควรดำเนินการตามคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน พร้อมแจ้งระยะใหประชาชนทราบ
สามเหลี่ยมแห่งบริการ (The Service Triangle) : พนักงาน ระบบงาน กลยุทธ์การบริการ
ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Core Values)
1.ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูก (Moral Courage)
2.ซื่อสัตย์มีความรับผิดชอบ (Integrity Responsibility)
3.โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparence Accountability)
4.ไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination)
2.มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation)
หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี (Good Government)
1. หลักนิติธรรม (Merit)
2. หลักคุณธรรม (Legal)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักความมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ่มค่า (Economy)
............................................
คำถามเตรียมสอบภาค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๑๐
๑.ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องการครูคนใดไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครูประชาสัมพันธ์โรงเรียน(ภาค ก ปี ๒๕๕๐ )
ก มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้ภาระงานในโรงเรียน
ข สุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส
ค เป็นคนพูดจาอ่อนหวาน กระตือรือร้น
ง แต่งตัวดี มีบุคลิกภาพที่ดี
๒.ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจะมอบหมายให้ครูตามข้อใดเป็นประชาสัมพันธ์โรงเรียน(ภาค ก ปี ๒๕๕๒)
ก แต่งตัวสะอาด เรียบร้อย พูดเก่ง
ข พูดดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
ค มีบุคลิกภาพที่ดี พูดคล่อง รู้ภาระงานในโรงเรียนดี
ง กระตือรือร้น ชอบพูดคุย รู้หน้าที่และรับผิดชอบ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ ก.ค.ศ. สอบผู้บริหารสถานศึกษา

เป็นสมรรถนะหลัก
สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์: ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
มี ๓ ตัวบ่งชี้
มีบันทึกร่องรอยคุณภาพ
(ระบุข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐานที่สะท้อนคุณภาพการปฏิบัติงาน)

1.1 คุณภาพงานด้านความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
ระดับคุณภาพ
4--ผลงานมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์เกือบทุกรายการและเป็นแบบอย่างได้
3--ผลงานมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่
2--ผลงานครบถ้วนแต่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
1--มีผลงานเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายแต่มีข้อผิดพลาดค่อนข้างมาก

1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การนำนวัตกรรม/ทางเลือกใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
ระดับคุณภาพ
4--มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำคู่มือประกอบการพัฒนางานใหม่ ๆ โดยมีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีการเผยแพร่ในวงกว้าง
3--มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนางานใหม่ ๆ โดยมีการบันทึกหรือกล่าวถึงในเอกสาร/หลักฐานลักษณะในลักษณะหนึ่ง ไม่มีการเผยแพร่ในวงกว้าง
2--มีการนำนวัตกรรม/วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนางานสามารถระบุลักษณะ/ประเภทนวัตกรรมได้แต่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
1--ปฏิบัติงานตามแนวทางปกติยังไม่มีการนำนวัตกรรม/วิธีการใหม่ ๆ มาใช้
1.3 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง
ระดับคุณภาพ
4--มุ่งมั่น กระตือรือร้นในการพัฒนาผลงานทุกรายการที่ได้รับมอบหมายจนปรากฏผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในองค์กรและนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง
3--มุ่งมั่น กระตือรือร้นในการพัฒนาผลงานที่ได้รับมอบหมายจนผลงานเป็นที่ยอมรับในองค์กร
2--มุ่งมั่น กระตือรือร้นในการพัฒนาผลงานให้บรรลุเป้าหมาย
1--มีการพัฒนาผลงานในบางรายการที่ได้รับมอบหมาย

.......................................................................
เ ฉ ล ย คำ ถ า ม ที เ ล่ น ที จ ริ ง ชุ ด ที่ ๘
๑.ข้อใดคือเป้าหมายสูงสุดขององค์การที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ก ผลสัมฤทธิ์ขององค์การ
ข องค์การแห่งการเรียนรู้
ค ความรวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองความต้องการ
ง เป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่สามารถเทียบเคียงได้
๒.จากวงจรพัฒนาคุณภาพของ ดร. Deming เมื่อถึงลำดับ A แล้วขั้นต่อไปคืออะไร
ก จบสิ้นกระบวนการ
ข P
ค P และยกระดับคุณภาพ
ง เริ่มต้นโครงการใหม่

คำถามสอบภาค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๙
๑.ผอ.โรงเรียน มีการจัดทำผลงาน ซึ่ง มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนางานใหม่ ๆ โดยมีการบันทึกหรือกล่าวถึงในเอกสาร/หลักฐานลักษณะในลักษณะหนึ่ง ไม่มีการเผยแพร่ในวงกว้าง.. ผอ.ท่านนี้ได้ระดับคุณภาพอยู่ในระดับใดในตัวบ่งชี้นี้(ข้อสอบภาค ก ปี ๒๕๕๒)
ก ระดับ ๑
ข ระดับ ๒
ค ระดับ ๓
ง ระดับ ๔
๒.ผอ.โรงเรียนกล่าวว่า...คุณครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจมาก... ข้อใดถูกต้องมากที่สุด(ข้อสอบผอ.เขต )
ก มีประสิทธิภาพ
ข มีประสิทธิผล
ค มีผลลัพธ์
ง มีผลสัมฤทธิ์



.......ท่านใดสนใจตอบคำถามโปรดส่งเมล์ ถึง TOPTEN TUTOR ที่ krututor@hotmail.com หรือร่วมตอบคำถามในบอร์ดรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหาร

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ช่วง..ปล่อยของ คำศัพท์เกี่ยวกับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา

ต่อไปนี้เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ การมุ่งผลสัมฤทธิ์
ประสิทธิภาพ (Effciency) : เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ปัจจัยนำเข้า (input) กับผลผลิต(Output)
ประสิทธิผล (Effectiveness): เป็นการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์ (Objectives) กับผลลัพพธ์ (Outcomes) ของโครงการ
ผลผลิต (Output) : ผลงานหรือบริการที่องค์การจัดทำขึ้น
ผลลัพธ์ (Outcomes) : ผลกระทบกับผลผลิต หรือผลที่ทำให้ผลผลิตเกิดการเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result – Based Management)
1.วิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
2.กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ
3.กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
4.กำหนดแหล่งข้อมูล
5.การตั้งเป้าหมาย
6.การรวบรวมข้อมูล
7.การบันทึก อนุมัติข้อมูล
8.วิเคราะห์ผล
9.รายงานผล

เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
1.วงจร Deming (เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการติดตามตรวจสอบค่อนข้างมาก)
2.การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement) เป็นหัวใจของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
3.การวัดผลการปฏิบัติงานจะให้ความสำคัญ กับสิ่งต่อไปนี้
- ความประหยัด (Economy)
- ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ความมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)
- คุณภาพการให้บริการ (Service Quality)
4.การเทียบงาน(Bench Marking) เทียบผลสัมฤทธิ์ของงสนและกระบวนการทำงานกับวิธีปฏฺบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)
5.ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Preformance Indicators : KPI) : สิ่งที่บ่งชี้ว่างานนั้นสำเร็จลุล่วงเพียงใด ซึ่งควรมีหน่วยที่สามารถนับได้ 4 ประเภท คือ
- ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (Input Indicators)
- ตัวชี้วัดผลผลิต (Output Indicators)
­ ตัวชี้วัดผลลัพธิ์ (Outcome Indicators)
- ตัวชี้วัดประสิทธิภาพและความคุ้มค่า (Efficiency and Cost-Effectiveness Indicators)
6. การประเมินโครงการ (Project Evaluation) เป็นการศึกษาที่ลึกกว่าการวัดผลโดยดูที่ความคุ้มค่า ของนโยบายหรือโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
ลักษณะขององค์การที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
1) วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2) ผู้บริหารทุกระดับต่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน
3) เป้าหมายวัดได้เป็นรูปธรรม
4) การพิจารณาจัดสรรงบประมาณ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
5) มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
6) มีระบบสนับสนุนการทำงาน
7) มีวัฒนธรรม อุดมการณ์ร่วมกันในการทำงานที่สร้างสรรค์
8) เจ้าหน้าที่มีขวัญ กำลังใจดี

เฉลย คำถาม ทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๗
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
ก ประสิทธิภาพหมายถึงการบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
ข ประสิทธิผลหมายถึงผลงานที่ตั้งไว้สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ค ประสิทธิภาพหมายถึงผลงานที่ได้ที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ง ประสิทธิผลหมายถึงความคุ้มค่า เวลา และความประหยัด
๒.องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บรรลุผลคือข้อใด
ก สมรรถนะผู้บริหาร
ข การมีธรรมาภิบาล
ค การจัดโครงสร้าง
ง การสื่อสารและการจูงใจ

คำ ถ า ม ที เ ล่ น ที จ ริ ง ชุ ด ที่ ๘


๑.ข้อใดคือเป้าหมายสูงสุดขององค์การที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ก ผลสัมฤทธิ์ขององค์การ
ข องค์การแห่งการเรียนรู้
ค ความรวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองความต้องการ
ง เป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่สามารถเทียบเคียงได้
๒.จากวงจรพัฒนาคุณภาพของ ดร. Deming เมื่อถึงลำดับ A แล้วขั้นต่อไปคืออะไร
ก จบสิ้นกระบวนการ
ข P
ค P และยกระดับคุณภาพ
ง เริ่มต้นโครงการใหม่

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ก - เฉลยคำถามทีเล่นทีจริงชุดที่ ๖

เ ฉ ล ย คำถาม เตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารชุดที่ ๖
๑.เป้าหมายประชาคมอาเซียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น มีวิสัยทัศน์ในปีใด
ก พ.ศ.๒๕๕๕
ข พ.ศ.๒๕๕๘
ค พ.ศ.๒๕๖๑
ง พ.ศ.๒๕๖๕
๒.ข้อใดเกี่ยวข้องกับ เป้าหมายของประชาคมอาเซียน น้อยที่สุด
ก 3N
ข Education Hub
ค ๖ เดือน ๖ คุณภาพ
ง ซีเมค

คำถาม เตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ทีเล่นทีจริงชุดที่ ๗
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
ก ประสิทธิภาพหมายถึงการบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
ข ประสิทธิผลหมายถึงผลงานที่ตั้งไว้สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ค ประสิทธิภาพหมายถึงผลงานที่ได้ที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ง ประสิทธิผลหมายถึงความคุ้มค่า เวลา และความประหยัด
๒.องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บรรลุผลคือข้อใด
ก สมรรถนะผู้บริหาร
ข การมีธรรมาภิบาล
ค การจัดโครงสร้าง
ง การสื่อสารและการจูงใจ


ท่านใดสนใจการตอบคำถาม กรุณาตอบท้ายบล๊อกนี้ในช่อง แสดงความคิดเห็น หรือตอบในเวบบอร์ด รวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหาร

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เนื้อหาเตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา

การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์*
(Results Based Management - RBM)

โดย -เมธินี จิตติชานนท์
ผู้อำนวยการกองฝึกอบรม
สำนักงานประกันสังคม

สถานการณ์ปัจจุบันนี้ทุกท่านคงทราบดีว่าเราอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบราชการ ทำไมถึงต้องมีการพัฒนา เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง โลกไร้พรมแดนที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ การติดต่อสื่อสารไปมาได้รวดเร็ว ใครทำอะไรที่ไหนเราก็รู้ได้โดยรวดเร็ว หากเป็นเรื่องที่ดีเราก็จะเลียนแบบและทำตาม เพราะฉะนั้น ตัวแรกที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบราชการไทยคือ โลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ปี 2540 ช่วงที่เกิดเศรษฐกิจวิกฤตทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนดูว่า ราชการไทยจะยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบเดิมได้หรือไม่ ในช่วงนี้เมื่อเกิดสถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเราขยับตัวไม่ทันทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นี้คือ ปัจจัยตัวที่ 2 ส่วนปัจจัยที่ 3 เราจะเห็นได้ชัดเจนและเชื่อว่า กลุ่มพวกท่านจะสัมผัสอย่างชัดเจนที่สุดก็คือ ความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยที่ 4 ความเข้มแข็งของภาคเอกชน ภาคเอกชนมีความเข้มแข็งกว่าภาคราชการมากเพราะเป็นผลจากโลกาภิวัตน์ การเรียนรู้ประสบการณ์ของต่างประเทศก็ไปได้เร็ว เพราะเราได้รับทราบข่าวสารจาก CNN ปัจจัยสุดท้ายคือ รัฐธรรมนูญใหม่ค่อนข้างชัดเจนว่า ภาครัฐต้องรู้จักการบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เหล่านี้คือที่มาของการพัฒนาระบบราชการไทย
การพัฒนาระบบราชการไทย
การพัฒนาระบบราชการไทยเว้นไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ว่าด้วยเรื่องของมาตรา 3/1
มาตรา 3/1 ค่อนข้างกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการไปโดยคำนึงถึง ประโยชน์สุขของประชาชน จะต้องดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อ
ภารกิจของรัฐ ภารกิจใด ๆของรัฐก็ตามจะต้องทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้จงได้ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรต่าง ๆจะต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ส่วนที่สำคัญต่อไปคือ ขั้นตอนในการทำงานทั้งหลายทำอย่างไรจะลดลงให้ได้ ปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อของแผนพัฒนาระบบราชการไทย เขาบอกว่า ในกระบวนการทั้งหลายที่แต่ละหน่วยราชการมีนั้นจะต้องปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ได้ครึ่งหนึ่ง สมมุติว่าเรามีอยู่ 20 กระบวนการ ภายในปี 2550 จะต้องลดให้ได้ 10 กระบวนการ นี้คือ
เป้าหมายการลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นก็อาจจะเกิดขึ้นได้ และในวันพรุ่งนี้จะมีการแถลงผลการพัฒนาระบบราชการไทยครบ 2 ปี ที่หอประชุมกองทัพเรือ

*ถอดเทปการบรรยายและเอกสารประกอบการบรรยายจากหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547
เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ โรงเรียนนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย


นอกจากนี้ยังจะต้องมองการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น ตรงนี้มีเป้าหมายอยู่แล้วว่าเราจะกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่น เพราะยังทำได้ไม่เต็มที่ การกระจายอำนาจการตัดสินใจจะเห็นว่า ผู้ว่า CEO จะได้รับมอบอำนาจมากขึ้นจากระดับกรม ฯ จากส่วนกลาง เรื่องต่อมาคือ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน และสุดท้ายคือ มีความรับผิดชอบต่อผลของงาน และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เมื่อมีพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยไว้ 7 ยุทธศาสตร์ดังนี้คือ
1.การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
2.การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
3.การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ
4.การสร้างระบบบริหารบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
5.การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม
6.การเสริมสร้างราชการให้ทันสมัย
7.การเปิดระบบราชการ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
เป็นการวางเงื่อนไขให้ส่วนราชการต่าง ๆนำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้มีการทำยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์การ(Organization Scorecard) ลงไปจนถึงระดับตัวบุคคล (Individual Scorecard) รวมถึงให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีการรายงานผลสัมฤทธิ์รายปี เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะฉะนั้นต่อไป เขาจะมี KPI (Key Performance Indicator) ตัวชี้วัด ระดับบุคคล ก่อนจะข้ามไปถึงเรื่อง RBM ขอพูดถึงกรอบของกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงมี ขั้นตอนของการทำงานในปัจจุบันอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 การละลาย Unfreezing
แจ้งการเปลี่ยนแปลง
จงใจพนักงานให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ขั้นที่ 2 การเปลี่ยนแปลง (Moving)
ปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง
แนะนำความรู้ใหม่ รูปแบบพฤติกรรมใหม่ ค่านิยมและความเชื่อถือใหม่
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ขั้นที่ 3 การก่อรูปใหม่ Refreezing
เสริมและสนับสนุนรูปแบบใหม่
ทำให้การเปลี่ยนแปลงมั่นคงและจัดให้มีขั้นในองค์การ
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จะนำไปสู่การทำงานในอนาคต(Future performance)
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานแล้วเรายอมรับกันหรือเปล่า หากยอมรับบางส่วนก็จะมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ไหนก็ตาม สาเหตุการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนักวิชาการได้รวบรวมและสรุปไว้ดังนี้ คือ
1.การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ผลประโยชน์ส่วนตัวขาดหายไปที่เคยได้มากอาจจะลดลง บางเรื่องได้มากขึ้นแต่ก็ต่อต้านได้
2.การขาดความเข้าใจและความเชื่อถือ ไม่เข้าใจว่าหลังจากการเปลี่ยนแปลงแล้วทำอะไรดีขึ้น
3.ความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงในช่วงของการละลายไปสู่การเปลี่ยน เพราะอาจไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเปลี่ยนแล้วมันจะเป็นอย่างไร ยึดตามแนวนี้ได้ไหมหรือจะต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่อีก
4.การรับรู้ที่แตกต่างกัน
ทั้ง 4 สาเหตุของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่วิธีการที่จะจัดการกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1.การให้การศึกษาและการติดต่อสื่อสาร
2.การมีส่วนร่วม ลดแรงต่อต้านได้
3.การอำนวยความสะดวกและการสนับสนุน ให้กับผู้ที่ต่อต้านนั้น เช่น เขาไม่พอใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาก็ต้องใช้วิธีจับเข่าคุยกัน เป็นการอำนวยความสะดวกให้ไม่ได้ปฏิเสธเขา
4.การเจรจาต่อรอง หลักของการเจรจาต่อรองพยายามให้ฝ่ายตรงข้ามเปิดเผยจุดยืนของเขาก่อนเพื่อนำไปปรับใช้
5.การแทรกแซง ส่งใครก็ได้เข้าไปเจรจาต่อรอง
6.การบังคับ การทำงานโดยวิธีการบังคับนั้นสำเร็จแต่ไม่ได้ใจเขา

แนวคิด หลักการ และรูปแบบของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
เป็นเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการบริหารงานภาครัฐไปจากเดิมที่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) และอาศัยกฏระเบียบ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สุจริตและเป็นธรรม โดยหันมาเน้นถึงวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต(Output) และผลลัพธ์ (Outcome) และความคุ้มค่าของเงิน (Value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน ผู้รับบริการ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM)
แยกออกเป็น ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ผลลัพธ์
(RESULTS) = (OUTPUTS) + (OUTCOMES)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์คืออะไร
คือ วิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ที่มาของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
มาจากแนวคิดของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM ) (3 E) ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อ
ความประหยัด (Economy) การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และมีความคุ้มค่าที่สุด
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานในระดับที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ประสิทธิผล (Effectiveness) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

และการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นต้องใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีด้วย (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542) โดยมีหลักปฏิบัติ 6 ประการ แต่การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นนำมาใช้เพียง 4 หลักปฏิบัติตั้งแต่ข้อ 3 ถึง ข้อ 6
1.หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกาและการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของสมาชิก
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อม ๆกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติโดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะการประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน เช่น รับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยอมรับต่อผลการดำเนินการ
6. หลักความคุ้มค่า (Utility) หมายถึงการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้อย่างคุ้มค่าสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน RBM : Results เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร ได้แก่
Plan ต้องกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายชัดเจน (ต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร)
Do ปฏิบัติมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้
Check วัดว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนหรือไม่ (KPI ชัดเจน)
Act ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้
การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Monitoring)
เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเรื่องนี้
เป็นกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
เป็นการกำกับ ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงาน
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการของรัฐได้
ประโยชน์ของการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน
ปรับปรุงการกำหนดนโยบาย
สามารถแสดงภาพรวมของสถานภาพ
สนับสนุนการวิเคราะห์แนวโน้มผลการปฏิบัติงาน
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เกี่ยวข้องกับการกำหนด
วิสัยทัศน์
พันธกิจหรือภารกิจ
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก
วิสัยทัศน์ (Vision)
คือ ภาพที่องค์การต้องการจะเป็นหรือเป็นเป้าประสงค์โดยรวมที่องค์การต้องการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
พันธกิจ (Mission)
เป็นหลักการพื้นฐานจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์การและขอบข่ายการดำเนินงานขององค์กร
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor)
“สิ่งที่เราต้องการทำให้มีหรือให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร”
ถ้าหากว่า เรากำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรไว้แล้ว การที่เราจะบรรลุวิสัยทัศน์นั้นเราต้องทำอะไรบ้างหรือมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง องค์กรจึงจะบรรลุวิสัยทัศน์ ฉะนั้นจึงต้องมีเกณฑ์การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ดังนี้
เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์โดยมุ่งความสำคัญที่ผลผลิตและผลลัพธ์
เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร
มีความเฉพาะเจาะจงและสามารถเข้าใจได้
เป็นที่ยอมรับจากระดับผู้บริหาร
อยู่ภายใต้อิทธิพลการควบคุมขององค์กร
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance Indicator)
“เราจะวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จได้อย่างไร”
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก คือสิ่งที่สะท้อนว่า เราจะวัดอะไร อะไรที่แสดงถึงความก้าวหน้าของเรา ในการกำหนดตัวชี้วัดมีข้อที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกันว่า เวลากำหนดขึ้นมานั้นจะต้องรับได้ไหม วัดได้จริง ๆไหมแล้วจะต้องทำได้ และบรรลุได้ ทำความเข้าใจได้ ตรวจสอบได้ วัดได้ภายในเวลาที่กำหนด หากจะจำง่าย ๆนั้นก็คือ SMART เป็นการกำหนดตัวชี้วัด
เกณฑ์การกำหนดตัวชี้วัด
สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง
สามารถบรรลุได้ มีความสมเหตุสมผลที่จะใช้เป็นตัวชี้วัด ไม่วัดในสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากความสามารถของส่วนราชการ
สามารถสื่อสารทำความเข้าใจได้ตรงกัน มีความเฉพาะเจาะจง
สามารถตรวจสอบได้
สามารถวัดผลได้อย่างเท่าเทียมกัน ผลงานเหมือนกันควรใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน
สามารถวัดผลการปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนด
ความหมายของคำว่า Smart มีดังนี้
S pecific - เฉพาะเจาะจง ชัดเจน
M easurable - สามารถวัดได้
A chievable - สามารถบรรลุได้
R ealistic - สอดคล้องกับความเป็นจริง
T imely - วัดได้เหมาะสมตามช่วงเวลาที่กำหนด
การกำหนดตัวชี้วัดต้องกำหนดอย่าง SMART พอเป็นตัวชี้วัดแล้วก็ต้องมาดูการแสดงค่าให้ชัดเจน ดังนั้น ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ดีจะต้องแสดงค่าที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขอันใดอันหนึ่ง เช่น เป็นร้อยละ (Percentage) อัตราส่วน (Ratio) ค่าเฉลี่ย (Average or Mean) จำนวน ( Number) อัตรา
(Rate) และสัดส่วน (Proportion)
บทเรียนจากประสบการณ์
ตัวอย่างการทำงานเรื่องการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานประกันสังคมพอสรุปได้ดังนี้
ประโยชน์ของ RBM ที่ผู้บริหารนำมาใช้ในราชการ มีดังนี้
เป็นเครื่องมือในการติดตามงาน
เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
ผู้บริหารระดับสูงจะทราบว่าองค์กรอยู่ ณ ตำแหน่งใด
สนับสนุนให้องค์กรมีวิสัยทัศน์
ข้อเสนอแนะในการนำระบบนี้มาใช้
1.บุคลากรมีความเข้าใจ
2.ลดความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลการประมวลผล
3.กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ
4.ผู้บริหารเห็นความสำคัญนำไปใช้ประโยชน์
5.มีทีมงานที่มีความสามารถ
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
ปัญหาที่พบ
1.ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่
2.ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น (เก็บข้อมูลทุกวัน)
3.การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน

แนวทางแก้ไข
1.จัดอบรมสัมมนาปีละ 2 ครั้ง
ทำเอกสารคู่มือ VDO ออกติดตามงาน
2.ตั้งทีมงาน กระจายงาน เฉพาะงานที่จำเป็น
3.ประชุมวิเคราะห์ผลร่วมกัน
มีประโยคที่น่าสนใจอยู่ 3 ประโยคฝากไว้สำหรับผู้ที่จะก้าวเป็นนักบริหารในอนาคตต่อไป
1. If you can’ t measure, you can’ t manage วัดไม่ได้ บริหารไม่ได้
2 2. If you can’ t measure, you can’ t improve วัดไม่ได้ พัฒนาไม่ได้
3. What gets measured, gets done สิ่งไหนที่วัด สิ่งนั้นคนจะสนใจ
ตอนท้ายของเรื่อง การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นจะสำเร็จได้ต้อง มีพื้นฐานของการสื่อสารที่ดี การมีส่วนร่วม และการมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของบุคลากร โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.การเตรียมการพัฒนาระบบ RBM
2.การพัฒนาระบบ RBM
3.การติดตามและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทั้ง 3 ข้อ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการบริหารผลการปฏิบัติงานได้ต่อไป
เป้าหมายในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมข้าราชการใหม่มี ดังนี้
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า I AM READY ย่อมาจาก
 I (Intergrity) การทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
 A (Activeness) ขยัน ตั้งใจทำงาน
 M (Moral) มีศีลธรรม
 R (Relevancy) มีการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับปัญหา
 E (Efficiency) การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
 A (Accountability) การมีความรับผิดชอบต่อผลงาน
 D (Democracy) มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย
 Y (Yield) มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และปฏิบัติงานโดยเน้นผลสัมฤทธิ์
จากการบรรยายดังกล่าวนั้นหวังว่าทุกท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และนำไปปฏิบัติให้เกิดความคล่องตัวขึ้นได้ในอนาคตและเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อง การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ขอขอบคุณ
*************************
ถอดเทปการบรรยาย/รวบรวม/พิมพ์โดย
นางพรรณธิภา ธนสันติ นพบ. 6
วิทยาลัยการปกครอง

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาคมอาเซียน และกระทรวงศึกษาธิการ ข้อมูลเตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ๒๕๕๔

เ ฉ ล ย คำ ถ า ม เตรียมสอบ ภ า ค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ 5
๑. ข้อใดถูกต้องในการสอบ PAT วัดแววอาชีพครู
ก PAT 3
ข PAT 4
ค PAT 5
ง PAT 6
๒.ตัวอักษร P ในคำย่อว่า PAT ข้อใดใกล้เคียงมากที่สุด
ก Prefer
ข Pretest
ค Professional
ง Pro position


.........................................................................................................................

การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง "การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘" จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ณ ห้องรับรอง ๑-๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

รมว.ศธ. กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ

ภายใต้การก่อตั้งนี้จะต้องยึดหลักสำคัญ คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน การศึกษานั้นจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน

สำหรับการเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทยนั้น ศธ.มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่างประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของประเทศในประชาคม

ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLC ศูนย์เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินงานภายใต้นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ ๖ เดือน ๖ คุณภาพของ ศธ. เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป.

ที่มา...สำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

คำถาม เตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารชุดที่ ๖
๑.เป้าหมายประชาคมอาเซียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น มีวิสัยทัศน์ในปีใด
ก พ.ศ.๒๕๕๕
ข พ.ศ.๒๕๕๘
ค พ.ศ.๒๕๖๑
ง พ.ศ.๒๕๖๕
๒.ข้อใดเกี่ยวข้องกับ เป้าหมายของประชาคมอาเซียน น้อยที่สุด
ก 3N
ข Education Hub
ค ๖ เดือน ๖ คุณภาพ
ง ซีเมค

..................................................................
ท่านใดสนใจตอบคำถาม โปรดเขียนลงใน แสดงความคิดเห็น ท้ายบล๊อกนี้ หรือตอบในบอร์ดรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหารครับ

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เตรียมสอบภาค ก เรื่องการสอบ GAT/PAT ปี 2554 นโยบายที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรรู้

เ ฉ ล ย คำถามสอบภาค ก ทีเล่นทีจริงชุดที่ 4
๑.หลักการประเมินโรงเรียนในฝัน ใช้กรอบการประเมินด้วยทฤษฏีตามข้อใด
ก BP:Best Practices
ข BSC:Balance scorecard
ค TQM:Total Quality control
ง PDCA
๒.นโยบายคืนครูสู่ห้องเรียน สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ
ข ครูอัตราจ้าง
ค ครูธุรการ
ง ครูอัตราจ้างกรณีพิเศษ
.......................................เกี่ยวกับ GAT/PAT ปี 2554

นางอุทุมพร จามรมาน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผย ในวันที่ 10-30 พฤศจิกายนนี้ สทศ.เปิดรับสมัครสอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ครั้งที่ 1/2554 (สอบเดือนมีนาคม 2554) โดยสมัครผ่านทางเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th ชำระเงิน วันที่ 10 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลส่วนตัว วันที่ 10 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ วันที่ 14 ธันวาคมเป็นต้นไป พิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบ วันที่ 21 ธันวาคม สอบวันที่ 5-8 มีนาคม 2554 และประกาศผลสอบวันที่ 10 เมษายน ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องเป็นนักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่าชั้น ม.6 ขึ้นไป ณ วันสอบ โดยเสียค่าสมัครสอบวิชาละ 150 บาท

นางอุทุมพรกล่าวต่อว่า สำหรับปฏิทินการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1/2554

วันที่ 5 มีนาคม 2554

เวลา 08.30-11.30 น. สอบ GAT

เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์,

วันที่ 6 มีนาคม เวลา

08.30-11.30 น. สอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู,

วันที่ 7 มีนาคม

เวลา 08.30-11.30 น. สอบ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์,

วันที่ 8 มีนาคม

เวลา 08.30-11.30 น. สอบ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

เวลา 13.00-16.00 น. สอบ

PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส

PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน

PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น

PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน

PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ และ

PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

"ทั้งนี้ สำหรับยอดนักเรียนที่ยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบการสอบ ครั้งที่ 3/2553 สอบเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีจำนวน 1,123 คน แยกเป็นรายวิชา GAT 737 คน PAT 1 จำนวน 435 คน PAT 2 จำนวน 364 คน PAT 3 จำนวน 269 คน PAT 4 จำนวน 243 คน PAT 5 จำนวน 32 PAT 6 จำนวน 8 คน PAT 7.1 จำนวน 39 คน PAT 7.2 จำนวน 8 PAT 7.3 จำนวน 16 คน PAT 7.4 จำนวน 9 คน และ PAT 7.6 จำนวน 2 คน ซึ่งจากข้อมูลนักเรียนที่ขอดู GAT น่าจะเป็นเพราะได้คะแนนศูนย์ เนื่องจากไม่ได้ระบายกระดาษคำตอบตามที่ สทศ.กำหนด จึงไม่ได้ตรวจข้อสอบวิชาดังกล่าวให้ ดังนั้น นักเรียนคงอยากที่จะรู้ว่าตนเองได้คะแนนจริงๆ เท่าใด อย่างไรก็ตาม สทศ.จะไปค้นกระดาษคำตอบและเปิดให้นักเรียนมาดูได้ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้" นางอุทุมพรกล่าว


ที่มา - มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1289377164&grpid=&catid=19&subcatid=1903

.................................
ค ำ ถ า ม เตรียมสอบ ภ า ค ก ทีเล่นทีจริง ชุดที่ 5
๑. ข้อใดถูกต้องในการสอบ PAT วัดแววอาชีพครู
ก PAT 3
ข PAT 4
ค PAT 5
ง PAT 6
๒.ตัวอักษร P ในคำย่อว่า PAT ข้อใดใกล้เคียงมากที่สุด
ก Prefer
ข Pretest
ค Professional
ง Pro position


ท่านใดต้องการร่วมสนุกโปรดเขียนคำตอบลงใน "แสดงความคิดเห็น"ท้ายบล๊อกนี้ หรือไปตอบในเวบบอร์ดรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษาด้านบนทางขวามือ

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาเฉลยคำถามทีเล่นทีจริง ชุดที่ 3 และนำเสนอคำถามฯ ชุดที่ 4

เ ฉ ล ย ค ำ ถ า ม ที เ ล่ น ที จ ริ ง ชุ ด ที่ 3
๑.ข้อใดคือแนวคิดที่ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับนโยบายโรงเรียนดีประจำตำบล
ก เป็นโรงเรียนที่เน้น ๗ ด้าน ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ข เป็นโรงเรียนคุณภาพภายในท้องถิ่น
ค เป็นโรงเรียนเพื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ง เป็นโรงเรียนเชิงวิจัยและทดลอง
๒.ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒ โรงเรียนดีระดับตำบล มีจำนวนกี่โรงเรียน
ก ๕๐๐ โรงเรียน
ข ๒๕๐๐ โรงเรียน
ค ๕๐๐๐ โรงเรียน
ง ๗๐๐๐ โรงเรียน

คำถามสอบภาค ก ทีเล่นทีจริงชุดที่ 4
๑.หลักการประเมินโรงเรียนในฝัน ใช้กรอบการประเมินด้วยทฤษฏีตามข้อใด
ก BP:Best Practices
ข BSC:Balance scorecard
ค TQM:Total Quality control
ง PDCA
๒.นโยบายคืนครูสู่ห้องเรียน สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ
ข ครูอัตราจ้าง
ค ครูธุรการ
ง ครูอัตราจ้างกรณีพิเศษ

ท่านใดสนใจ สามารถตอบโดยแสดงความคิดเห็นท้ายบล๊อกนี้ หรือตอบในรวมพลกระดานสนทนาลิงค์ด้านบนมุมขวาของบล๊อกนี้

โรงเรียนดีประจำตำบล อีกครั้ง(5 พ.ย.53--เปิดโครงการ)



"ชาติก้าวไกล โรงเรียนไทยเข้มแข็ง" โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน "ชาติก้าวไกล โรงเรียนไทยเข้มแข็ง" โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๓๐-๑๑.๓๐ น. โดยมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลัก รวมทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมงานกว่า ๓,๐๐๐ คน

รมว.ศธ. กล่าวรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักในความสำคัญของภารกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคปัจจุบัน

ศธ.ได้ดำเนินการปฏิรูปศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเน้นการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพ เป็นคนเก่งและคนดี จึงส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้เป็นสถานศึกษายุคใหม่ เนื่องจากโรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน

ชุดความคิดด้านการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานของ ศธ. โดยเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ได้กำหนดโรงเรียนเป้าหมายการพัฒนาเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ๕๐๐ โรงเรียน โรงเรียนดีประจำอำเภอ ๒,๕๐๐ โรงเรียน และโรงเรียนดีประจำตำบล จำนวน ๗,๐๐๐ โรงเรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันในครั้งนี้ เพื่อให้โรงเรียนดีประจำตำบลเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพสำหรับเด็กในท้องถิ่นชนบท ซึ่งถือเป็นผู้ด้อยโอกาสในการรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในเขตเมือง
จากรายงาน ของธนาคารโลก พบว่าผลการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ อย่างยิ่งในการขยายโอกาสทางการศึกษา ขณะที่คุณภาพของผู้เรียนมีแนวโน้มลดลง หากให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีโรงเรียนเฉพาะที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเทียบเคียงได้กับค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในสหรัฐอเมริกา แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตชนบทยังด้อยคุณภาพ ทั้งผลการวิจัยพบว่า การทุ่มเททำงานจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่น ชนบทและส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งยังลดความเหลื่อมล้ำและปัญหาสังคมส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชากรโดยรวม
ดังนั้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นชนบทได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างเป็นรูปธรรมทั้งทางด้านคุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น ศธ.จึงดำเนินนโยบายโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ ๓ ประการ คือ

*

เพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ มีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อาชีพ และการพัฒนาสุขภาพอนามัย เป็นศูนย์บริการวิชาการสำหรับโรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และมีกิจกรรมบริการชุมชน
*

เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท
*

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจ

การดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ศธ.ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ตามลำพัง ชุนชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรสำคัญที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

การเปิดโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล "ชาติก้าวไกล โรงเรียนไทยเข้มแข็ง" และการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยใน วันนี้ จึงเปรียบเสมือนคำมั่นสัญญาต่อกัน ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับลูกหลานของเราให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ศธ.จึงได้เรียนเชิญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้บริหารระดับสูงของทั้งฝ่าย พร้อมทั้งได้เชิญผู้บริหารโรงเรียน และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาร่วมเป็นสักขีพยาน จำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ ท่าน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะส่งผลให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ใน พื้นที่ ทำให้เกิด "โรงเรียนน่าอยู่ ครูดี นักเรียนมีคุณภาพ ชุนชนร่วมใจ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน" ต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบล ซึ่ง ศธ.ได้แถลงนโยบายและลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เป็นการดำเนินงานที่มีความสำคัญอีกด้านหนึ่ง มีเป้าหมายที่จะให้การพัฒนาโรงเรียนมีความพร้อมในการเป็นต้นแบบหรือศูนย์ สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นศูนย์รวมหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเน้นการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน การสร้างเครือข่ายการพัฒนา เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร ทั้งครู สื่อ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสให้ท้องถิ่นชนบทได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพมากยิ่ง ขึ้น

คุณภาพการศึกษาของระบบการศึกษาที่ผ่านมา มีปัญหามากที่สุดในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีโรงเรียนหลายแห่งที่มีคุณภาพมาตรฐานที่เทียงเคียงได้กับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่เจริญแล้ว ในจังหวัด ในตัวเมือง ขณะเดียวกันช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนเหล่านี้กับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลออกไป อยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง ซึ่งนอกจากจะกระทบคุณภาพของการศึกษาในภาพรวมแล้ว ยังสร้างปัญหาในความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดในเรื่องการสร้างคุณภาพของโรงเรียนให้กระจายในทุกพื้นที่ของประเทศ โดย ศธ.ได้วางแนวทางในการเริ่มต้นขับเคลื่อนไปในระดับตำบล ดังที่ได้มีการจัดทำโครงการอยู่ในขณะนี้ และได้ตระหนักถึงปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่กระจายอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเหล่านั้นด้วย

อย่างไรก็ตาม โรงเรียนดีประจำตำบลที่จะได้มีการดำเนินการจากนี้ไป มีขอบเขตที่กว้างขวาง ต้องครอบคลุมทั้งในเรื่องของวิชาการ การพัฒนาผู้เรียน สุขภาพพลานามัย พื้นฐานอาชีพ และสามารถบริการการศึกษาให้แก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ และพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการชุมชน ซึ่งต้องอาศัยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และเกิดความความรู้สึกเป็นเจ้าของพร้อมๆกันไป
ด้วยเหตุผลนี้การดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายได้ จึงต้องให้กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ พร้อมให้การส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ เป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องยั่งยืนสืบต่อไป.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร
นงศิลินี โมสิกะ
สรุป/รายงาน

ที่มา สำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เนื้อหาเตรียมสอบภาค ก ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา- นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

                            เฉลยคำถามทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๒
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับระบบ e-training 
  ก เป็นโครงการสำหรับครูเยียวยาที่แก้ไขวิทยฐานะ
  ข เป็นโครงการของ สพฐ.
  ค เป็นโครงการพัฒนาครูด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์
  ง เป็นโครงการส่วนหนึ่งของ เอสพี ๒ 
๒.โครงการ เอสพี ๒ มีระยะเวลากี่ปี 
  ก ๕ ปี 
  ข ๒ ปี
  ค ๓ ปี 
  ง ๔ ปี 
.....................................................................

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนดีประจำตำบล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ "โรงเรียนดีประจำตำบล" ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.30-11.30 น. ณ ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ NBT

กระทรวงศึกษาธิการ โดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนา "โรงเรียนคุณภาพ" ในท้องถิ่นชนบท เพื่อให้โรงเรียนมีความเพียบพร้อมที่จะเป็นต้นแบบ หรือศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นศูนย์รวมหรือแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

"โรงเรียนคุณภาพ" จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่อยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นโรงเรียนที่รองรับการจัดการศึกษา ให้กับบุตรหลานในท้องถิ่นนั้นอย่างมีคุณภาพ และนั่นคือที่มาของ "โรงเรียนดี ประจำตำบล" ซึ่งโรงเรียนจะต้องมีคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ที่ต้องการ คือ

1.เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬาและศิลปะ

2.เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านกายภาพที่สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย

3.เป็นโรงเรียน "ทำมาหากิน" ที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน

4.เป็น "โรงเรียนของชุมชน" ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นละบริการชุมชนอย่างเข้มแข็ง

โรงเรียนดีประจำตำบล เป้าหมายของโรงเรียนดีประจำตำบล 4 เดือน= 7 ประการ/ 4+4 (8 เดือน) = 7+7 (14 ประการ)

ภายใน 4 เดือนแรก มีเป้าหมาย 7 ประการ

1.มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เชื่อมั่นว่าทำได้จริง
2.มีเป้าหมายพัฒนานักเรียนที่ทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกัน
3.มีความสะอาดทุกแห่งที่เกิดจากจิตสำนึกของนักเรียน
4.มีบริเวณโดยรอบ ร่มรื่น สวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ
5.มีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน สีสันสดใส
6.มีความปลอดภัย ปลอดยาเสพติด
7.เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและพัฒนา

ภายใน 4+4 = 8 เดือน เป้าหมาย 7 ประการ

1.มีห้องสมุด 3 ดี มีการจัดกิจกรรมรักการอ่านนักเรียนได้ใช้ห้องสมุดทุกคน
2.มีห้องปฏิบัติการภาษา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ได้ใช้งานอย่างคุ้มค่า
3.มีศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพที่ครบวงจร สร้างอาชีพหารายได้ระหว่างเรียน
4.เป็นศูนย์กีฬาชุมชนครบวงจร มีสนามกีฬา มีกิจกรรมและการดูแลรักษา
5.มีห้องสุขานักเรียนที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
6.ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สื่อเทคโนโลยีทันสมัยในการสอน
7.ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับในการเป็นนักพัฒนาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ภายใน 4+4+4 = 12 เดือน เป้าหมายสู่นักเรียน 7 ประการ

1.ชื่อเสียงดี มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น
2.ใฝ่รู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม สูงกว่าค่าเฉลี่ย สพฐ.
3.ใฝ่เรียน อ่านคล่อง เขียนคล่องนับแต่ชั้น ป.2 ขึ้นไป
4.ใฝ่ดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5.มีความเป็นไทย มีวินัย ยิ้มไหว้ทักทายกัน
6.สุขภาพดี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
7.รักงานอาชีพ ใช้ ICT ได้ รักงานอาชีพ

ภายใน 12 เดือน หรือ 1 ปี "โรงเรียนดีประจำตลจะมีภาพความสำเร็จจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่จะอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 กลุ่มสาระหลัก มีสำนึกความเป็นไทย มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ มีความสามารถด้านการคิววิเคราะห์ระดับสูง มีทักษะอย่างดีด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองอื่นๆ ตามความสนใจหรือความถนัด

ในขณะเดียวกัน "โรงเรียนดีประจำตำบล" ก็จะสามารถสร้างวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง ไร้ปัญญาหายาเสพติด และเกิดความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและอง์กรปรครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างเข้มแข็ง




                                 ข้อมูลจากเวบครูไทยดอทอินโฟ

คำถามทีเล่นทีจริงชุดที่ ๓ 
๑.ข้อใดคือแนวคิดที่ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับนโยบายโรงเรียนดีประจำตำบล
  ก เป็นโรงเรียนที่เน้น ๗ ด้าน  ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
  ข เป็นโรงเรียนคุณภาพภายในท้องถิ่น
  ค เป็นโรงเรียนเพื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  ง เป็นโรงเรียนเชิงวิจัยและทดลอง
๒.ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒ โรงเรียนดีระดับตำบล มีจำนวนกี่โรงเรียน  
  ก ๕๐๐ โรงเรียน
  ข ๒๕๐๐ โรงเรียน
  ค ๕๐๐๐ โรงเรียน
  ง ๗๐๐๐ โรงเรียน


ท่านที่สนใจ สามารถส่งคำตอบได้โดยการเขียนแสดงความคิดเห็นท้ายเนื้อหานี้ หรือตอบในกระดานรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหาร  

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เฉลย คำถามทีเล่นทีจริง ๒ ข้อ พร้อมนำเสนอเนื้อหาใหม่

เฉลยคำถามทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๑
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุดใครเป็นผู้ลงนามคำสั่งการย้ายผู้บริหารการศึกษา ผอ.และรองฯผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  ข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  ค เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  ง ผู้มีอำนาจตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.รอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษา ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อบรรจุในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา จากการสรรหาโดยวิธีสอบคัดเลือกในคำสั่งครั้งนี้ ข้อใดถูกที่สุด
  ก ท่านรองฯเลื่อนตำแหน่ง
  ข ท่านรองฯเลื่อนระดับ
  ค ท่านรองฯเปลี่ยนตำแหน่ง
  ง ท่านรองฯเปลี่ยนระดับ


...............................................................................................
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่คือ SP2:Stimulus Package จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 :2553-2555)  รายละเอียดตามลิงค์ด้านล่างนี้คือ


                  โครงการ เอสพี ๒ ของ สพฐ. 


โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยระบบ การฝึกอบรมทางอิเลคทรอนิคส์(e-training)จึงเกิดขึ้นและจะดำเนินการไป โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน 


                 หนังสือ สพฐ.ชี้แจงการใช้งบประมาณการพัฒนาครูฯ


 คำถามทีเล่นทีจริง ชุดที่ ๒
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับระบบ e-training 
  ก เป็นโครงการสำหรับครูเยียวยาที่แก้ไขวิทยฐานะ
  ข เป็นโครงการของ สพฐ.
  ค เป็นโครงการพัฒนาครูด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์
  ง เป็นโครงการส่วนหนึ่งของ เอสพี ๒ 
๒.โครงการ เอสพี ๒ มีระยะเวลากี่ปี 
  ก ๕ ปี 
  ข ๒ ปี
  ค ๓ ปี 
  ง ๔ ปี 


  ท่านที่สนใจส่งคำตอบโดย แสดงความคิดเห็นท้ายเนื้อหานี้ หรือไปตอบในเวบบอร์ดรวมพลสนทนาเตรียมสอบผู้บริหาร ตามลิงค์บนขวามือบล๊อก

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ย้ายผู้บริหารการศึกษาระดับผอ.เขตฯ รอง ผอ.เขตฯ บรรจุแต่งตั้งใหม่ ชุดใหญ่ สพฐ.จัดให้

ย้ายผู้ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสังกัด สพฐ. จำนวน 19 ราย

1. นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพม.เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 2

2. นายสมพิศ ศุภพงษ์ ผอ.สพป.อ่างทอง ไปดำรงตำแหน่ง ผอ. สพม.เขต 3

3. นายสมชาย แสงสุวรรณ ผอ.สพป.สมุทรปราการ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 7

4. นายสายัณห์ รุ่งป่าสัก ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 8

5. นายสมยศ ศิริบรรณ ผอ.สพป.สมุทรสงคราม ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 10

6. นายถนัด ขวัญนิมิตร ผอ.สพป.พัทลุง เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 13

7. นายเสริมศักดิ์ ดิษฐปาน ผอ.สพป.ชุมพร เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 14

8. ว่าที่ ร.ต.อานนท์ สุขภาคกิจ ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 17

9. นายสมภูมิ บ่ายเที่ยง ผอ.สพป.เลย เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 19

10. นายยงยุทธ สายคง ผอ.สพป.มุกดาหาร ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 22

11. นายยุทธพงศ์ วชิรปัญญาวัฒน์ ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 23

12. นายชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 31

13. นายสุริยนต์ วะสมบัติ ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 24

14. นายณัฏฐพล แสงศรีจันทร์ ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 34

15. นายทองปอนด์ สาดอ่อน ผอ.สพป.ลำปาง เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม. เขต 36

16. นายกิตติพงศ์ พิพัฒน์ศิวพงศ์ ผอ.สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 38

17. นายสมเกียรติ บุญรอด ผอ. สพป.พิษณุโลก เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 39

18. นายมานพ ดีมี ผอ.สพป.แพร่ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 41

19. นางมณฑ์ธวัล วุฒิวิชญานันต์ ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต 4


ย้ายผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไปแต่งตั้งให้ดำรงที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัด สพฐ. จำนวน 52 ราย


1. นายอธิวัฒน์ พันธ์ประชา ผอ.สพป.สุรินทร์ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3

2. นายสมวุฒิ ศรีอำไพ ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กำแพงเพชร เขต 1

3. นายประยุทธ นาวายนต์ ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 1

4. นายชลิต เพ็ชรรัตน์ ผอ.สพป.เชียงราย เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชลบุรี เขต 2

5. นายอัศนีย์ ศรีสุข ผอ. สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชลบุรี เขต 3

6. นายวัลลพ สงวนนาม ผอ.สพป.ลพบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชุมพร เขต 1

7. นายมานะ อัครบัณฑิต ผอ.สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลพบุรี เขต 2

8. นายมนตรี ทัดเทียม ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ตราด

9. นายเพิ่มพูน พงษ์พวงเพชร ผอ.สพป.นครพนม เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครพนม เขต 1

10. ว่าที่ ร.ต.วัฒนา ไกรนุกูล ผอ.สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3

11. นายวิมล จันทร์แก้ว ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3

12. นายประไพ รัตนไพจิต ผอ.สพป.ภูเก็ต ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4

13. นายเจียร ทองนุ่น ผอ.สพป.ระนอง ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ภูเก็ต

14. นายพิทยา จันฤาไชย ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 7 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

15. นายกิจ เกียรติสมกิจ ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ราชบุรี เขต 2

16. นายไพฑูรย์ โกพัฒน์ตา ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 2

17. นายสุเทพ บุญเติม ผอ.สพป.เลย เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เลย เขต 1

18. นายเทวรัฐ โตไทยะ ผอ.สพป.สกลนคร เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เลย เขต 2

19. นายนิสิต ชายภักตร์ ผอ.สพป.น่าน เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สตูล

20. นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 1

21. นายมานะ สินธุวงษานนท์ ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต 1

22. นายวัชรพงศ์ สุขรักษา ผอ.สพป.อำนาจเจริญ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

23. นายสุวิทย์ รักษาสุข ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.อำนาจเจริญ

24. นายสถาพร หยองเอ่น ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 2

25. นายวิพล นาคพันธ์ ผอ.สพป.พังงา ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชุมพร เขต 2

26. นายสันติ แสงระวี ผอ.สพป.ลำปาง เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พังงา

27. นายปรีชา วังคะฮาต ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.มุกดาหาร

28. นายสมเกียรติ พื้นแสน ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1

29. นายสุรัตน์ ดวงชาทม ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1

30. นายอธิปปรัชญ์ ทัดพิชญางกูร ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 1

31. นายสมพงษ์ โรจน์ภัทรพงศ์ ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3

32. นายธนากร งามชมภู ผอ.สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1

33. นายประภัสร สุภาสอน ผอ.สพป.สกลนคร เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.หนองบัวลำภู เขต 1

34. นายสายัณห์ ผาน้อย ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 1

35. นายกิตติพศ พลพิลา ผอ.สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 4

36. นายชูเกียรติ ด่านธนะทรัพย์ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2

37. นายวิศิษฐ์ ดุลยพัชร์ ผอ.สพป.เชียงราย เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1

38. นายเอกชัย ผาบไชย ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงราย เขต 2

39. นายสมบัติ สุทธิพรมณีวัฒน์ ผอ.สพป.ลำปาง เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลำปาง เขต 1

40. นายพิสิษฐ์ ยอดวันดี ผอ.สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลำปาง เขต 2

41. นายรมย์ พะโยม ผอ.สพป.แพร่ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กำแพงเพชร เขต 2

42. นายสุทิน แก้วพนา ผอ.สพป.พะเยา เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.แพร่ เขต 1

43. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1

44. นายสุรินทร์ แก้วมณี ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 3

45. นายกนก ปิ่นตบแต่ง ผอ.สพป.ยโสธร เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สมุทรสงคราม

46. นายประพฤทธิ์ สุขใย ผอ.สพป.ตาก เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1

47. นายอรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว ผอ.สพป.ยะลา เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 1

48. นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ยะลา เขต 1

49. ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ สาโร ผอ.สพป.ยะลา เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ปัตตานี เขต 3

50. นายธวัช แซ่ฮ่ำ ผอ.สพป.ปัตตานี เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ยะลา เขต 2

51. นายนิพัฒน์ มณี ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 3

52. นายอาดุลย์ พรมแสง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 2


บรรจุและแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัด สพฐ. จำนวน 34 ราย


1. นายดำริ งิมสันเทียะ รอง ผอ.สพป.ปทุมธานี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป. พระนครศรีอยุธยา เขต 2

2. นางอรฤดี พูลศรี รอง ผอ.สพป.สมุทรสาคร ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สมุทรปราการ เขต 2

3. นายสมุทร สมปอง รอง ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป. มหาสารคาม เขต 3

4. ว่าที่ร้อยตรีทวีศักดิ์ นามศรี รอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

5. นายวิระ แข็งกสิการ รอง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 3

6. นายหวั่น แตงทิพย์ รอง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 2

7. นายจักรพรดิ์ จิตมณี รอง ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป. สุพรรณบุรี เขต 3

8. นายไพบูลย์ ชวรุ่ง รอง ผอ.สพป.อุดรธานี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 2

9. นายสกล คามบุศย์ รอง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3

10. นายสิทธิชัย กีรติคุณากร รอง ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.แพร่ เขต 2

11. นายเพชรรัตน์ นิ่มพันธุ์ รอง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.อ่างทอง

12. นายพิสิษฐ์ ชดกิ่ง รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 7

13. นายอดุลย์ กองทอง รอง ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ยโสธร เขต 2

14. นายปรีชา บัวกิ่ง รอง ผอ.สพป.ชุมพร เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ระนอง

15. นายฉลอง พูลสุทธิ์ รอง ผอ.สพป.ตรัง เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พัทลุง เขต 2

16. นายอนันต์ กัลปะ รอง ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

17. นายสมภพ ศักดิษฐานนท์ รอง ผอ.สพป.สระบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

18. นายสุชาติ ศรีสุวรรณ รอง ผอ.สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 3

19. นายมานพ ษมาวิมล รอง ผอ.สพป.ลพบุรี เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 2

20. นายปรีดี ภูสีน้ำ รอง ผอ.สพป.สมุทรสงคราม ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 2

21. นายประจักษ์ ช่างเรือ รอง ผอ.สพป.กระบี่ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลำพูน เขต 2

22. นายสันติ รุ่งสมัย รอง ผอ.สพป.นครปฐม เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุรินทร์ เขต 2

23. นางสาวสายสวาท วิชัย รอง ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงราย เขต 4

24. นายภิรมย์ นันทวงศ์ รอง ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ตาก เขต 1

25. นายอมรศักดิ์ ปิ่นเงิน รอง ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลำปาง เขต 3

26. นายสินสมุทร แสนสุข รอง ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครพนม เขต 2

27. นายสุรพันธ์ โกยวาณิชย์ รอง ผอ.สพป.พังงา ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต 2

28. นายวรรณะ บุญสุข รอง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

29. นายพจน์ เจริญสันเทียะ รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2

30. นายวีระพงศ์ เดชบุญ รอง ผอ.สพม.เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

31. นายครรชิต วรรณชา รอง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พะเยา เขต 2

32. นายจัตุพร บุญระดม รอง ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.น่าน เขต 1

33. นายบำรุง ฤทธิรัตน์ รอง ผอ.สพป.พัทลุง เขต 2 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1

34. นายประสงค์ สุภา รอง ผอ.สพป.นครพนม เขต 1 ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2





การกำหนดกรอบ อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและประถมศึกษา

ที่ประชุม ก.ค.ศ.(ครั้งที่๑๐/๒๕๕๓) เห็นชอบตามที่ สพฐ. เสนอขอการกำหนดตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1-2 กทม. จำนวน 65 ตำแหน่ง, ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3-42 จำนวน 40 ตำแหน่ง และในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กทม. จำนวน 65 ตำแหน่ง



การพิจารณา ประสบการณ์ด้านการบริหารประถมศึกษาและการบริหารมัธยมศึกษา ตามมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนดใหม่

ที่ประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบการพิจารณาประสบการณ์ด้านการบริหารการประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยมีการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

1. หน้าที่และความรับผิดชอบ เป็นผู้บริหารราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา

2. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ การบริหารและการจัดการศึกษา การพัฒนางานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป

3. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง

- มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด

- ดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สพท. มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.4 หรือดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะผู้ อำนวยการเชี่ยวชาญหรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

- ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

4. การให้ได้รับเงินเดือน ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.4 หากผู้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพท. ผู้ใดผ่านการประเมิน มีวิทยฐานะ ผอ.สพท. เชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชาญพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดแล้ว ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.4 หรือ คศ.5 ตามลำดับ.




..................................................................................................................................................................
                                คำถามทีเล่นทีจริง
๑.ข้อใดถูกต้องมากที่สุดใครเป็นผู้ลงนามคำสั่งการย้ายผู้บริหารการศึกษา ผอ.และรองฯผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  ข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  ค เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  ง ผู้มีอำนาจตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษา ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อบรรจุในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากการสรรหาโดยวิธีสอบคัดเลือกในคำสั่งครั้งนี้ ข้อใดถูกที่สุด 
  ก ท่านรองฯเลื่อนตำแหน่ง
  ข ท่านรองฯเลื่อนระดับ
  ค ท่านรองฯเปลี่ยนตำแหน่ง
  ง ท่านรองฯเปลี่ยนระดับ
..........................................................................................................................
ท่านที่ต้องการร่วมสนุก โปรดโพสต์คำตอบลงใน comment (แสดงความคิดเห็น)ท้ายบล๊อกนี้ หรือไปตอบในกระดานรวมพลสนทนาก็ได้ครับ 




วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทักทาย ผู้ที่สนใจจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครูผู้ช่วย...โอกาสเป็นของท่านแล้ว

โอกาส ไม่ได้มาอย่างง่ายๆสำหรับผู้สนใจจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน  ผู้บริหารการศึกษา คือ รองผอ.และ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพป.และสพม.)  และครูผู้ช่วย  TOPTEN TUTOR เปิดตัวขึ้นมาเพื่อมุ่งช่วยเหลือให้ท่านได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยประสบการณ์จริงของทีมงานในการสอบคัดเลือกหลายครั้งและได้เป็นผู้บริหารในลำดับต้นๆ พบกับเทคนิคการทำข้อสอบและแนวข้อสอบจากสนามสอบจริง 
TOPTEN TUTOR  ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ออนน์ไลน์ ในการเชื่อมโยงเครือข่าย ข้อมูลอันแม่นยำ ถูกต้อง ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ต่อพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
โปรดติดตาม